วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา


ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา         เป็นปัญหาที่พบได้มากในสตรี  คาดคะเนได้ว่าสตรีทุกๆ 3 ใน 4 คน เคยประสบกับปัญหา ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราอย่างน้อย 1 ครั้ง ในช่วงชีวิต



สาเหตุของโรค 

เกิดจากเชื้อราแคนดิด้าอัลบิแคน (Candida  albicans)  เชื้อตัวนี้ ปกติอาศัย อยู่ในร่างกายคนอยู่แล้ว เช่น บริเวณผิวหนัง  ช่องคลอด ทวารหนัก และระบบทางเดินอาหาร   เมื่อมีอะไรบางอย่างทำให้ ระบบควบคุมเชื้อราในร่างกายเสียไป เชื้อนี้ก็จะก่อให้เกิดโรคขึ้นได้


อาการและอาการแสดง  

อาการสำคัญ   คือ คันช่องคลอด  ตกขาวมีลักษณะคล้ายนมบูด หรือตะกอนนม    บางรายมีผื่นแดงที่บริเวณปากช่องคลอด และปวดขณะร่วมเพศ  แต่บางรายอาจจะไม่มี อาการอะไรเลย


ทำไมจึงเกิดโรคช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา 

สภาวะบางอย่างซึ่งอาจทำให้สตรี ติดโรคหรือ เกิดโรคนี้ได้ง่ายขึ้น มีดังนี้





1).  ขณะตั้งครรถ์    ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนระหว่างการตั้งครรภ์  เป็นสภาวะที่เหมาะสม   เป็นอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิด้า

2).  สตรีเป็นเบาหวาน  ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงจากโรคเบาหวาน    จะกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราได้เป็นอย่างดี

3).  ขณะได้รับยาปฏิชีวนะบางอย่าง    ยาปฏิชีวนะ   มีหน้าที่ ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค  แต่ในขณะเดียวกันก็อาจทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตาม ปกติบริเวณช่องคลอด      ทำให้เชื้อราแคนดิด้าแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่าง   รวดเร็ว

4).  สตรีที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด  ก็มีโอกาสจะเกิดโรคเชื้อราได้ เพราะยาเม็ดคุมกำเนิดจะ ไปเพิ่มระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกาย  และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเชื้อราแคนดิด้าได้

5).  การใช้ยาบางประเภท  เช่น  ยารักษาโรคมะเร็ง  ซึ่งมักเป็น สารกดภูมิต้านทานของร่างกาย ทำให้ลดความสามารถของร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อราแคนดิด้า


การติดต่อ       

อาจจะติดต่อได้โดยการร่วมเพศ   ดังนั้นควรจะงดการมีเพศสัมพันธ์  จนกว่าการติดเชื้อรา ในช่องคลอดจะหาย


การวินิจฉัย และ  การตรวจหาเชื้อ

เมื่อท่านมีอาการตกขาว  คันช่องคลอด หรือมีผื่นแดงที่ปากช่องคลอด  หรือปวดแสบช่อง คลอดขณะร่วมเพศ   ท่านควรไปรับการตรวจภายใน   โดยบุคลากรทางการแพทย์ จะเก็บ ตกขาวจากช่องคลอดส่งตรวจ ทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถบอกได้ว่าอาการของท่านเกิดจากเชื้อโรคชนิดใด


การรักษา

1).   การใช้ยาสอดช่องคลอด  โดยสอดยาเข้าทางช่องคลอดให้ลึกที่สุด และไม่ต้อง ล้างออก สอดยาให้ครบจำนวนตามแพทย์สั่ง

2).   การใช้ยารับประทาน

3).   การใช้ยาทาเฉพาะที่

4).   ใช้อุปกรณ์ช่วย คลิก !!


การป้องกันการเป็นซ้ำ

โดยมากโรคนี้จะไม่กลับเป็นซ้ำ ถ้าสาเหตุได้ถูกกำจัดไป   เช่น   เลิกรับประทานยาปฏิชีวนะ  ที่
เป็นต้นเหตุตามคำแนะนำของแพทย์ และคำแนะนำต่อไปนี้ อาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านด้วย

1.      รักษาความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดด้วยน้ำสะอาด   หลีกเลี่ยงการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ  หรือการสวนล้างช่องคลอดบ่อยๆ (มากกว่า 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์) เพราะ อาจทำลายเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ตามปกติบริเวณช่องคลอด ซึ่งเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้มีส่วนป้องกันการติดเชื้อราใน ช่องคลอดได้

2.      หลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ

3.      หลีกเลี่ยงการใส่ชุดชั้นใน  ที่ทำด้วยไนล่อนหรือชุดชั้นใน ที่รัดรูปเกินไป    เพราะจะทำให้เกิดการอับชื้น ซึ่งเป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ของเชื้อรา

4.      หลังการถ่ายอุจาระ   ควรทำความสะอาดโดยเช็ดจาก ด้านหน้าไปด้านหลัง  เพื่อมิให้เชื้อแคนดิด้าที่อยู่ในทวารหนักเข้ามาสู่ช่องคลอด

5.      การรับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาล ปริมาณน้อย     อาจลดโอกาสการติดเชื้อราลงได้

6.      ใช้อุปกรณ์ช่วย คลิก !!


ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คลิก !!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น